ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
http://lifeanddeath2mcu.blogspot.com
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
http://lifeanddeath2mcu.blogspot.com
Date: Thu, 2 Jul 2009 12:22:10 +0700
Subject: CPCR:ปฎิทินความรัก สร้างสุขในบ้าน
From: cpcrfamilyclub@gmail.com
To:
เรียนสมาชิกชมรมครอบครัวทุกท่าน
เพื่อเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างพ่อแม่และลูก
มูลนิธิศูนย์พิทักษ์ จึงอยากแบ่งบันสิ่งดีๆ
ที่จะช่วยล้อมรั้วครอบครัวให้เข้มแข็งขึ้น
ด้วยวิธีการง่าย ๆ ที่ทุกท่านสามารถทำได้
หากท่านมีข้อสงสัย หรือสนใจวิธีการทำ สามารถติดต่อกลับมาได้ที่มูลนิธิ ฯ
ปฏิทินความรัก สร้างสุขในบ้าน
สรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับ "ปฏิทินสำหรับการใช้ชีวิตครอบครัว" ซึ่งน่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการสร้างชีวิตครอบครัวที่อบอุ่นและเป็นสุข จะช่วยลดปัญหาสังคมได้อีกมากหากทุกคนในครอบครัวให้ความสำคัญและปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวได้
จุดบอดของสังคมไทยเวลานี้คือคนไม่มีความสุขในชีวิตครอบครัว และไปแสวงหาความสุขนอกครอบครัว ทำให้ครอบครัวแตกสลายลงไป พ่อแม่ลูกไม่มีความรักผูกพันกัน ลูกคาดหวังจะได้ประโยชน์จากพ่อแม่ พ่อแม่ก็หวังจะได้ประโยชน์จากลูก การที่ต่างคนต่างอยู่หรือไม่ได้ทำอะไรด้วยกัน เช่น ไปศูนย์การค้าด้วยกัน แต่ลูกก็ไปเล่นในห้องหรือโซนกิจกรรมสำหรับเด็ก พ่อก็ไปซื้อสินค้าสำหรับผู้ชาย แม่ก็ไปซื้อสินค้าสำหรับผู้หญิง เมื่อกลับบ้านด้วยกันทุกคนเอาแต่โทรศัพท์คุยกับคนอื่น หรือไม่ก็ฟังเอ็มพี 3 เอาหูฟังใส่หูฟังเพลง ดูโทรทัศน์ เล่นอินเตอร์เน็ต ต่างคนต่างทำ ต่างใช้ชีวิตของตัวเอง
การไม่ได้ทำกิจกรรมครอบครัวร่วมกันจะส่งผลให้เมื่อพ่อแม่กับลูกมีปัญหาระหว่างกันก็จะไม่เข้าใจกัน เพราะขาดการสื่อสารกัน ลูกก็เข้าใจผิดว่าพ่อแม่ต้องการอย่างหนึ่ง
สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจก่อน คือ "การใช้ชีวิตครอบครัวร่วมกัน" ให้ถ่องแท้ ต้องครอบคลุมใน 3 ข้อ
1.สมาชิกครอบครัวต้องสื่อสารซึ่งกันและกัน มีความเข้าใจอันดีต่อกัน เข้าใจถึงความต้องการของอีกฝ่ายหนึ่ง แสดงบทบาทหน้าที่หรือมีการตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้ชีวิตครอบครัวสมัครสมานสามัคคีกลมเกลียวกัน นำมาซึ่งการแสดงหน้าที่ความรับผิดชอบต่อกัน
2.สมาชิกครอบครัวต้องมีทักษะต่างๆ ในชีวิตครอบครัว เช่น ทักษะการเป็นพ่อแม่ หรือทักษะการเป็นสามีภรรยาที่ช่วยให้การแสดงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของทุกคนดีและเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ่ายทอดทักษะชีวิตต่างๆ รวมทั้งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งในครอบครัว เช่น ปู่ย่าตายายถ่าย ทอดให้พ่อแม่ พ่อแม่ถ่ายทอดให้ลูก เพื่อให้ครอบ ครัวรับมือกับสภาพแวดล้อมหรือเงื่อนไขที่เปลี่ยน แปลงไป โดยเฉพาะวิกฤตการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในครอบครัว
3.ครอบครัวต้องเป็นที่พึ่งทางใจซึ่งกันและกัน เมื่อเด็กกลับจากโรงเรียนต้องการให้พ่อแม่ช่วยแก้ปัญหาที่โรงเรียน ต้องเข้าไปช่วยเหลือเกื้อกูลลูก หรือสามีภรรยาควรมีส่วนเกื้อหนุนซึ่งกันและกันทางจิตใจ ทุกคนจะต้องเผชิญปัญหาในชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดความทุกข์ใจ คนในครอบ ครัวควรจะมีความเอื้ออาทรทางจิตใจ เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดทางอารมณ์หรือช่วยให้รู้สึกลดความทุกข์ความเครียดกังวลลง
สำหรับปฏิทินการใช้ชีวิตครอบครัว มีอยู่ 2 ลักษณะ
1.ปฏิทินรายวัน คือการใช้ชีวิตครอบครัวร่วมกันในแต่ละวัน
อันดับแรก การจะทำปฏิทินรายวันจะต้องดูวัฏจักรชีวิตในรอบ 24 ชั่วโมงว่าครอบครัวจะทำอะไรร่วมกันได้บ้าง ให้คนในครอบครัวร่วมกันคิดและวางแผนการทำกิจกรรม เช่น เข้านอนในเวลาไล่เลี่ยกัน ตื่นไล่เลี่ยกัน เตรียมอาหารด้วยกัน ทำงานบ้านด้วยกัน ออกกำลังกายด้วยกัน เดินทางด้วยกัน สังสรรค์สนุกสนานร่วมกัน แต่มีข้อแนะนำว่าต้องแบ่งเวลาให้แต่ละคนมีชีวิตส่วนตัวบ้าง หรืออย่างน้อยควรใช้ชีวิตครอบครัวให้ได้ร่วมกันสักวันละสองชั่วโมง ครอบครัวชาวจีนมักมีวัฒนธรรมกินอาหารร่วมกัน พูดคุยแลกเปลี่ยนทุกข์สุขร่วมกันเป็นประจำ เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว
การพูดคุย ปรึกษาหารือเป็นสิ่งสำคัญในการทำกิจวัตรประจำวันร่วมกัน ระหว่างกินข้าวควรพูดคุยแลกเปลี่ยนสารทุกข์สุกดิบ เรื่องการบ้านการเมือง ละคร รายการโทรทัศน์ ไม่ใช่ต่างคนต่างกินแล้วต่างคนต่างดูทีวี แต่ถ้าดูแล้วมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดกันจะช่วยให้การสื่อสารในครอบครัวดีขึ้น
2.ปฏิทินรายปี การใช้ชีวิตครอบครัวร่วมกันในวาระพิเศษ
จากที่ 1 ปีมี 48 สัปดาห์ ครอบ ครัวน่าจะลองกำหนดวันหยุด เสาร์-อาทิตย์ ให้มีกิจกรรมหลากหลาย เช่น เล่นกีฬาออกกำลังกาย กิจกรรมสันทนา การ เช่น ไปเที่ยวสวน จตุจักร ชมภาพยนตร์ ดนตรี ท่องเที่ยวไปดูพิพิธภัณฑ์ ไปห้องสมุด ไปชมวัดวาอาราม กิจกรรมทางศาสนา ไปวัด โบสถ์ มัสยิด หรือทำกิจกรรมเพื่อสังคม
วันเสาร์-อาทิตย์ พ่อแม่หรือคนในบ้านอาจชักชวนลูกไปทำงานอาสาสมัครเพื่อสังคม เช่น ดูแลเด็กเล็กๆ ผู้พิการ ผู้สูงอายุในการขึ้นลงรถโดยสารหรือข้ามถนน หรือไปเยี่ยมเยียนพูดคุยกับกลุ่มดังกล่าวในสถานสงเคราะห์ ดูแลเรื่องเก็บขยะ ปัดกวาดถนนหนทางในชุมชนให้สะอาด รณรงค์ให้ทิ้งขยะในถังหรือที่ที่จัดให้ เป็นการสร้างจิตสำนึกของสาธารณะ ให้ทุกคนมีความรับผิดชอบต่อสังคม ดังนั้น คนในครอบครัวทุกคนก็จะเห็นแก่ตัวน้อยลง หมกมุ่นกับตัวเองน้อยลง มีความทุกข์น้อยลงเพราะไปช่วยเหลือคนอื่น คิดทำอะไรให้ผู้อื่น ไม่เห็นแก่ตัว ซึ่งจะเป็นผลดีแก่ครอบครัวและสังคมต่อไป
การกำหนดกิจกรรมดังกล่าวอาจจะทำสัปดาห์ละหนึ่งวัน อีกวันหนึ่งพักผ่อนในบ้าน หรือทำกิจกรรมในบ้านร่วมกัน เช่น ทำกับข้าว หลังจากนั้นทุกคนอาจจะไปทำกิจกรรมส่วนตัวเป็นวันพักผ่อนสำหรับทุกคน
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การจัดกิจกรรมการกินการบันเทิงร่วมกันในวันหยุดพิเศษ เช่น วันขึ้นปีใหม่ สงกรานต์ ตรุษจีน วันสำคัญเหล่านี้จะเป็นโอกาสให้พ่อแม่ได้อธิบายและบอกเล่าถึงประเพณีที่ดีให้ลูกฟัง หรือวันสำคัญอาจเป็นจุดเริ่มต้นในการเริ่มทำสิ่งดีๆ หรืออาจเป็นจุดเริ่มต้น มากระชับความสัมพันธ์ในครอบครัวที่จะทำให้ ทุกคนมีความสุข โดยเฉพาะวันสงกรานต์ ควรมีกิจกรรมที่กระชับความสัมพันธ์ในครอบครัว เช่น การรดน้ำดำหัว นอกจากผู้ใหญ่จะอวยชัยให้พรเด็ก ต่างฝ่ายอาจกล่าวถึงความประทับใจ ความทรงจำ ที่ดีที่มีต่อกันในรอบปีที่ผ่านมา ก็จะเป็นการกระชับ ความสัมพันธ์ได้ดี
หรืออาจจัดกิจกรรม หลากหลายร่วมกันได้ เช่น ร่วมจัดงานฉลอง ร้องเพลงคาราโอเกะ การเล่นสนุกสนาน เดินทางท่องเที่ยว กางเต็นท์ เดินป่าดูนกชมไม้ ถีบจักรยาน เที่ยว ไปฟังเทศน์ฟังธรรมด้วยกัน
การเริ่มต้นอาจลำบากในช่วงแรกสำหรับครอบครัวที่ห่างเหินกัน แต่ถ้ามีใครคนหนึ่งที่เห็นด้วยกับความคิดนี้ ลองนำความคิดนี้ไปพูดคุยกับสมาชิกครอบครัวว่าเราควรทำกิจกรรมเหล่านี้ด้วยกันบ้างไหม ถ้ากิจกรรมใดสมาชิกส่วนใหญ่เห็นพ้องก็ทำก่อน ถ้าไม่ยอมรับก็พักไว้ก่อน ไม่ต้องเคร่งครัดกับการปฏิบัติตามแผนมากนัก
ปฏิทินนี้เป็นเพียงแนวทางในการใช้ชีวิตร่วมกันในครอบครัว อาจพลิกแพลงในรายละเอียดได้ สมมติว่าวางแผนจะทำ 10 อย่างก็อาจทำจริงๆ ได้เพียงหนึ่งหรือสองอย่างก็ได้ แต่อย่างน้อยให้มีเรื่องนี้ติดอยู่ในความคิด ในการทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว ขอให้ค่อยเป็นค่อยไป ไม่เช่นนั้นบางคนพอเห็นว่ายากแล้วอาจเลิกทำไปเลย
สนใจข้อมูลการดูแลลูกหรือปรึกษาปัญหาพฤติกรรมเด็ก ติดต่อมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก โทร.0-2412-0738 0-2412-9834 หรือเข้าชม www.thaichildrights.org
ที่มา : วันเสาร์-อาทิตย์ พ่อแม่หรือคนในบ้านอาจชักชวนลูกไปทำงานอาสาสมัครเพื่อสังคม เช่น ดูแลเด็กเล็กๆ ผู้พิการ ผู้สูงอายุในการขึ้นลงรถโดยสารหรือข้ามถนน หรือไปเยี่ยมเยียนพูดคุยกับกลุ่มดังกล่าวในสถานสงเคราะห์ ดูแลเรื่องเก็บขยะ ปัดกวาดถนนหนทางในชุมชนให้สะอาด รณรงค์ให้ทิ้งขยะในถังหรือที่ที่จัดให้ เป็นการสร้างจิตสำนึกของสาธารณะ ให้ทุกคนมีความรับผิดชอบต่อสังคม ดังนั้น คนในครอบครัวทุกคนก็จะเห็นแก่ตัวน้อยลง หมกมุ่นกับตัวเองน้อยลง มีความทุกข์น้อยลงเพราะไปช่วยเหลือคนอื่น คิดทำอะไรให้ผู้อื่น ไม่เห็นแก่ตัว ซึ่งจะเป็นผลดีแก่ครอบครัวและสังคมต่อไป
การกำหนดกิจกรรมดังกล่าวอาจจะทำสัปดาห์ละหนึ่งวัน อีกวันหนึ่งพักผ่อนในบ้าน หรือทำกิจกรรมในบ้านร่วมกัน เช่น ทำกับข้าว หลังจากนั้นทุกคนอาจจะไปทำกิจกรรมส่วนตัวเป็นวันพักผ่อนสำหรับทุกคน
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การจัดกิจกรรมการกินการบันเทิงร่วมกันในวันหยุดพิเศษ เช่น วันขึ้นปีใหม่ สงกรานต์ ตรุษจีน วันสำคัญเหล่านี้จะเป็นโอกาสให้พ่อแม่ได้อธิบายและบอกเล่าถึงประเพณีที่ดีให้ลูกฟัง หรือวันสำคัญอาจเป็นจุดเริ่มต้นในการเริ่มทำสิ่งดีๆ หรืออาจเป็นจุดเริ่มต้น มากระชับความสัมพันธ์ในครอบครัวที่จะทำให้ ทุกคนมีความสุข โดยเฉพาะวันสงกรานต์ ควรมีกิจกรรมที่กระชับความสัมพันธ์ในครอบครัว เช่น การรดน้ำดำหัว นอกจากผู้ใหญ่จะอวยชัยให้พรเด็ก ต่างฝ่ายอาจกล่าวถึงความประทับใจ ความทรงจำ ที่ดีที่มีต่อกันในรอบปีที่ผ่านมา ก็จะเป็นการกระชับ ความสัมพันธ์ได้ดี
หรืออาจจัดกิจกรรม หลากหลายร่วมกันได้ เช่น ร่วมจัดงานฉลอง ร้องเพลงคาราโอเกะ การเล่นสนุกสนาน เดินทางท่องเที่ยว กางเต็นท์ เดินป่าดูนกชมไม้ ถีบจักรยาน เที่ยว ไปฟังเทศน์ฟังธรรมด้วยกัน
การเริ่มต้นอาจลำบากในช่วงแรกสำหรับครอบครัวที่ห่างเหินกัน แต่ถ้ามีใครคนหนึ่งที่เห็นด้วยกับความคิดนี้ ลองนำความคิดนี้ไปพูดคุยกับสมาชิกครอบครัวว่าเราควรทำกิจกรรมเหล่านี้ด้วยกันบ้างไหม ถ้ากิจกรรมใดสมาชิกส่วนใหญ่เห็นพ้องก็ทำก่อน ถ้าไม่ยอมรับก็พักไว้ก่อน ไม่ต้องเคร่งครัดกับการปฏิบัติตามแผนมากนัก
ปฏิทินนี้เป็นเพียงแนวทางในการใช้ชีวิตร่วมกันในครอบครัว อาจพลิกแพลงในรายละเอียดได้ สมมติว่าวางแผนจะทำ 10 อย่างก็อาจทำจริงๆ ได้เพียงหนึ่งหรือสองอย่างก็ได้ แต่อย่างน้อยให้มีเรื่องนี้ติดอยู่ในความคิด ในการทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว ขอให้ค่อยเป็นค่อยไป ไม่เช่นนั้นบางคนพอเห็นว่ายากแล้วอาจเลิกทำไปเลย
สนใจข้อมูลการดูแลลูกหรือปรึกษาปัญหาพฤติกรรมเด็ก ติดต่อมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก โทร.0-2412-0738 0-2412-9834 หรือเข้าชม www.thaichildrights.org
www.khaosod.co.th
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมน่าอยู่สำหรับเด็กอย่างยั่งยืน โปรดส่งต่ออีเมล์นี้สู่คนที่คุณรักและห่วงใย...
ขออภัยหากอีเมล์เป็นการรบกวน หากท่านไม่ประสงค์รับอีเมล์นี้กรุณาแจ้งกลับมาที่ อีเมล์ : pr@thaichildrights.org
------------------------------------------------------------------
ฝ่ายประชาสัมพันธ์และระดมทรัพยากร
มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก
979 ซอยจรัญสนิทวงศ์12 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600
โทรศัพท์ 0-2412-0738 0-2412-9834
โทรสาร 0-2864-3381 ต่อ 108
www.thaichildrights.org
--
ชมรมครอบครัว ฝ่ายพัฒนาเด็กและสังคมมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก
โทร : 0-2412-0738, 0-2412-9834,
0-2864-3381
ที่อยู่ : 979 ซ.วัดดีดวด ถ.จรัลสนิทวงศ์ ซ.12 แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่
กทม.10600
โหลดฟรี! โปรแกรม Windows Live ครบชุด Windows Live Services
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น