เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน

ร่วมสร้างกฎหมายกับไอลอว์
Blognone Bookmark and Share

30 ธันวาคม 2552

"สร้อยมณีแดง" หอมแปลกและสวย

Pic_55565

ไม้ ต้นนี้ อยู่ในตระกูลเดียวกันกับต้น สร้อยฟ้า สายพันธุ์ที่มีดอกเป็นสีม่วงและดอกมีกลิ่นหอม นิยมปลูกแพร่หลายในประเทศไทยมาช้านานจนกลายเป็นไม้ไทยไปโดยปริยาย ซึ่งสร้อยฟ้าชนิดที่กล่าวนี้มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอังกฤษ เป็นสายพันธุ์ลูกผสมระหว่าง P.ALATA กับ P.CAERULEA ไม่ใช่พันธุ์แท้ มีชื่อ วิทยาศาสตร์ว่า PASSIFLORA XALATOCAERU- LEA LINDLEY อยู่ในวงศ์ PASSIFLORACEAE

แต่ "สร้อยมณีแดง" ที่พบวางขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ เป็นสายพันธุ์นำเข้าจากรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา นานกว่า 5-6 ปีแล้ว บางคนชอบเรียกอีกชื่อว่า "สร้อยฟ้าฮาวาย" ตามถิ่นกำเนิด มีลักษณะเด่นคือ ดอกมีลวดลายสีสันสวยงาม และดอกมีกลิ่นหอมแรงแบบแปลกๆ คล้ายกลิ่นแป้ง จึงกำลังเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางอยู่ในเวลานี้

สร้อยมณีแดง หรือ "สร้อยฟ้าฮาวาย" อยู่ในวงศ์ PASSIFLORACEAE เป็นไม้เถาเลื้อย ต้นหรือเถาเป็นเหลี่ยม มีมือเกาะออกตามซอกใบ ต้นหรือเถาสามารถเลื้อยได้ไกลกว่า 5-7 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามข้อ ใบเป็นรูปรีกว้าง ปลายใบแหลม โคนใบมน ต่างจากใบของสร้อยฟ้าสายพันธุ์ ของอังกฤษที่ใบจะเป็นแฉกรูปนิ้วมือชัดเจน ใบเป็นสีเขียวสด

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆตามซอกใบ ลักษณะดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 10 กลีบ รูปกลีบบัว หลังกลีบเป็นสีขาวหม่น หน้ากลีบสีแดงอมม่วง มีระยางเป็นสีม่วงเข้มเป็นเส้นเรียงกันเป็นระเบียบจำนวนมาก แต่ละเส้นของระยางจะมีสีขาวแต้มเป็นปล้องๆ แตกต่างจากระยางของสร้อยฟ้าสายพันธุ์ของประเทศอังกฤษชัดเจน ใจกลางดอกมีเกสรตัวผู้ 5 อัน มีก้านรวมกับเกสรตัวเมีย ปลายเกสรตัวเมียมี 3 แฉก ดอกโดยรวมเป็นสีแดงอมม่วง ดอกมีกลิ่นหอมแรงคล้ายกลิ่นแป้งตามที่กล่าวข้างต้น ดอกเมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10-12 ซม. เวลามีดอกดกเต็มต้นและดอกบานพร้อมกันจะดูสวยงามน่ารักและส่งกลิ่นหอมกระจาย ทั่วบริเวณใกล้เคียงเป็นที่ประทับใจมาก "ผล" เป็นรูปรี ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำกิ่ง ปัจจุบัน "สร้อยมณีแดง" หรือ "สร้อยฟ้าฮาวาย" มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผง "คุณตุ๊ก" หน้าตึกกองอำนวยการ ราคาสอบถามกันเอง นิยมปลูกให้ต้นเลื้อยพันซุ้มประตู ซุ้มดอกเห็ด หรือพันรั้วหน้าบ้าน เวลามีดอกจะสวยงามมาก ในต่างประเทศนิยมเอาดอกไปสกัดแต่งกลิ่นอาหารและเครื่องดื่มครับ.

"นายเกษตร"

http://www.thairath.co.th/column/edu/paperagriculturist/55565

--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog

10 ตุลาคม 2552

กว่าจะเป็น "ธงมหิดล"

กว่าจะเป็น “ธงมหิดล”
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 กันยายน 2552 11:22 น.
กว่าจะเป็่น "ธงมหิดล"
       ธงทรงสามเหลี่ยม ตรงกลางประดับพระฉายาลักษณ์พระราชานุสาวรีย์ "สมเด็จพระราชบิดา" ถือเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของ "วันมหิดล"...ในขณะที่คนทั่วไปเห็นธงผืนนี้ ในฐานะของสัญลักษณ์แห่งกุศล เพื่อเชิญชวนให้ร่วมบริจาคช่วยเหลือผู้ป่วย แต่เส้นทางของธงผืนนี้ ที่กว่าจะมาวางเด่นเป็นสง่าในวันที่ 24 กันยายน เป็นที่น่าสนใจไม่น้อย

สกรีนตรามหิดล
       พสกนิกรชาวไทย ทราบกันดีว่า วันที่ 24 กันยายนของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระผู้ได้รับการถวายพระสมัญญาภิไธยจากแพทย์และประชาชนทั่วไปว่า "พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย" คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้ขนานนาม วันอันเป็นที่ระลึกสำคัญนี้ว่า "วันมหิดล" เพื่อเป็นการถวายสักการะ และแสดงกตัญญูกตเวทีต่อพระองค์ท่าน เพราะพระราชกรณียกิจที่ได้ทรงบำเพ็ญแก่วงการแพทย์ และการสาธารณสุขของประเทศไทย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้จัดเตรียมทำ “ธงมหิดล”เพื่อ มอบแก่ผู้บริจาคทรัพย์ช่วยผู้ป่วย ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่จัดทำต่อเนื่องกันมาทุกปี ซึ่งนอกจะปลูกฝังนิสัยการเป็นผู้ให้และผู้เสียสละให้แก่นักศึกษา รวมถึงบุคคลทั่วไปที่จะมีโอกาสแบ่งบันและทำบุญเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

ตีเส้น ด้วยชอล์ก
       แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบถึงความเป็นมาของ “ธงวันมหิดล”
       
       และจะมีใครรู้บ้างว่าธงที่นำมาแจกให้กับผู้บริจาคนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร

       
       ย้อนกลับไปเมื่อ พ.ศ.2503 ศ.นพ.กษาณ จาติกวนิช ผอ.ร.พ.ศิริราช ได้เสนอให้ศิริราชมีการจำหน่ายธง “วันมหิดล” เพื่อให้ประชาชนทุกฐานะมีส่วน เกื้อกูลผู้ป่วยยากไร้ของ ร.พ.ศิริราช ในปีแรก มีการจำหน่ายธงขนาดกลาง ราคา 10 บาท และธงเล็กทำด้วยริบบิ้น ราคา 1 บาท นักศึกษา ทุกหมู่เหล่าในวิทยาเขตศิริราช ได้ช่วยกันออกไปจำหน่าย ซึ่ง รายได้ทั้งหมดนำไปจัดซื้ออุปกรณ์ การรักษาพยาบาล และเครื่อง อำนวยความสุขแก่ผู้ป่วยยากไร้

ตัดให้ ความสวยงามอยู่ที่การตัดด้วยกรรไกร ซิกแซ็ก
       โดยในครั้งแรกแบบธงเป็นรูปสามเหลี่ยม มีรูปพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระบรมราชชนกพิมพ์อยู่ตรงกลางผืนเช่นเดียวกับในปัจจุบัน แต่พิมพ์เป็นรูปสีเขียวบนผ้าขาว ภายหลังได้มีการเปลี่ยนแปลงให้ใช้ผ้าสี ที่ตรงกับวันมหิดลในปีนั้น และทำสติ๊กเกอร์ขึ้นแทนธงริบบิ้น ต่อมา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้ก่อตั้งศิริราชมูลนิธิขึ้นเพื่อบริหาร จัดการด้านการเงินให้มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น คณะฯ จึงมอบให้ศิริราช มูลนิธิ รับผิดชอบการจำหน่ายธงวันมหิดล

       ทั้งนี้ การจำหน่ายธงได้ผลดีเกินคาด ธงไม่พอสำหรับวันขายใหญ่ “กลุ่มอาสามหาวิทยาลัยมหิดล” ซึ่งประกอบด้วยนักศึกษาจากทุกคณะ และทุกวิทยาเขตจึงอาสาทำธงให้ โดยระดมทำอยู่ 2 วัน 2 คืน จนมีธงพอจำหน่ายในปีนั้น

       ปีต่อมาคณะกรรมการจำหน่ายธงวันมหิดล จึงมีมติให้จ้างกลุ่มอาสาฯ ทำธงแทนจ้างบริษัทเอกชน เพราะเล็งเห็นว่านักศึกษาทำได้ดีเทียบเท่ามืออาชีพ และยังเป็นการสนับสนุนการทำกิจกรรมของนักศึกษา นอกจากนี้ผลกำไรทางกลุ่มอาสาฯ ยังนำไปสร้าง โรงเรียนในชนบททุกปี เรียกว่าได้บุญ 2 ต่อ

ช่วยกันคนละไม้ คนละมือ
       ปัจจุบัน กิจกรรมการทำธงวันมหิดลเพื่อมอบแก่ผู้บริจาคช่วยผู้ป่วยนับเป็นอีกหนึ่ง กิจกรรมที่นอกจะปลูกฝังนิสัย การเป็นผู้ให้และผู้เสียสละให้แก่นักศึกษาแล้วยังเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้าง พลังสามัคคีในหมู่พี่น้องชาวม.มหิดลได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ ท่านที่ประสงค์จะช่วยกันสานต่อหนึ่งในผลงานอันล้ำค่าของ “สมเด็จพระบรมราชชนก” ช่วยผู้ป่วย

ตรวจสอบความเรียบร้อยกันหน่อย
       ศ.คลินิก นพ. ธีวัฒน์ กุลทนันทน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า วันที่ 24 กันยายน เป็นวันคล้ายวันสวรรณคนของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย” ถือว่าเป็นวันสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยวันหนึ่ง ซึ่งตลอดพระชนม์ชีพ ทรงอุทิศพระองค์ในการพัฒนาศิริราชได้ก้าวหน้ามาถึงปัจจุบัน

ปิดท้ายด้วยการร้อยเชือกและเย็บ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
       "คณะแพทยศาสตร์ศิริราช พยาบาลถือว่าเป็นประเพณีปฏิบัติเป็นประจำทุกปีในการจัดกิจกรรมเฉลิมพระ เกียรติ และในปีนี้ครบ 80 ปี แห่งวันสวรรณคตของพระองค์ท่าน ขณะเดียวกันเป็นการหารายได้เพื่อนำมาช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ด้อยโอกาสของรพ .ศิริราช เป็นการเจริญตามรอยพระบาทสมเด็จพระบรมราชชนกร่วมในการ “ให้”

อย่าคิดว่า นศ.แพทย์จะหยิบผ้าไม่เป็นนะครับ
       สำหรับปีนี้เนื่องด้วยวันมหิดล 24 กันยายน 2552 ตรงกับวันพฤหัสบดี ธงปีนี้จึงมีสีแสดตามสีประจำวัน โดยหน่วยอาสา มหาวิทยาลัยมหิดล และนักศึกษาจากทุกคณะ ทุกวิทยาเขต ได้จัดเตรียมทำธงมหิดล พร้อมทั้งออกรับบริจาค มอบธงและและสติ๊กเกอร์ที่ระลึกแก่ผู้มีจิตศรัทธา เช่นเคยเหมือนกับเป็นประเพณีของชาวมหิดล"

       “ตุน" ภากร ยุวโกศล นักศึกษา แพทย์ ชั้นปี 3 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ตัวแทนอาสาสมัครมหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายถึงช่วงเวลาของการจัดทำธงมหิดล เริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2552 ทั้งวางแผนงาน เตรียมอุปกรณ์ และลงมือทำ ณ หอพักนักศึกษาแพทย์หญิง ทุกวันจันทร์-วันพฤหัส เวลา 16.00-20.00 น. และวันศกร์ เวลา 20.00 -06.00 น.(ในวันรุ่งขึ้น) เรียกว่า “Overnight”

       "ใน ปีนี้ สีผ้าของธง เป็นสีส้ม เนื่องจากตรงกับวันพฤหัสบดี จึงต้องเตรียมและจัดซื้อผ้าให้ได้มากที่สุด หลังจากที่ได้ผ้าตามกำหนด เราจะทำการตัดแบ่งผ้าให้เป็นชิ้นใหญ่ๆจากนั้นนำมาทำการ มารคเส้น เพื่อสกรีนตรามหิดล แล้วทำการสกรีนลงไป เมื่อผ่านการสกรีนแล้ว ก็จะทำการตีเส้น ด้วยชอล์ก จากนั้นจึงทำการตัดให้ ความสวยงามอยู่ที่การตัดด้วยกรรไกร ซิกแซ็ก ปิดท้ายด้วยการร้อยเชือกและเย็บ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย อาทิตย์หนึ่งก็ต้องทำให้ได้ถึง 10,000 อัน ”
       


แบบนี้ที่เรียกว่า“Overnight”
       “เราจะใช้เวลาตั้งแต่ 4 โมงเย็น จนถึง 2 ทุ่ม ช่วยกันทำธง และเมื่อถึงวันศุกร์ของสัปดาห์เราจะส่งรถไปรับน้องปี 1 และเพื่อนๆ คณะต่างๆ จากศาลายา หรือพญาไท เพื่อมาร่วมกันทำธงที่ศิริราช และจะใช้เวลาช่วงเย็นวันศุกร์ จนถึงเช้าวันเสาร์ เรียกว่า ทำงานข้ามวัน ข้ามคืนกันเลยทีเดียว ซึ่งงานนี้ไม่ได้บังคับ เพราะเราเริ่มทำงานในช่วงเวลาเลิกเรียน หรือไม่ใครว่างก็มาช่วยกัน

       ซึ่งแม้ว่าบางครั้งจะเรียนหนัก หรือเวลาไม่ตรงกัน เราก็จะหมุนเวียนกันมาทำ อาจจะดูใช้เวลานาน แต่สนุกและผ่อนคลาย เพราะได้เจอทั้งเพื่อนใหม่ๆ ที่มาจากหลายๆ คณะ และรุ่นพี่กลับมาเล่าประสบการณ์ในช่วงทำธงในสมัยก่อนๆให้ได้ฟัง"

       ทิ้งท้ายด้วย “ปอนด์” วรอรรถ คุณวุฒิวานิช นักศึกษาแพทย์ ฯ ชั้นปี 5 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ตัวแทนอาสาสมัครมหาวิทยาลัยมหิดล อีกหนึ่งคน เผยถึงความภูมิใจที่ได้ตอบแทนความดีต่อสถาบันและพระบิดาแห่งการแพทย์แผน ปัจจุบันของไทย ด้วยการจัดทำธงมหิดล

       รู้สึกเป็น เกียรติที่ได้เป็นตัวแทนนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล อุทิศตนเพื่อช่วยเหลือคนยากไร้ แม้ว่าตอนนี้ยังไม่ถึงเวลาที่เราจะลงมือช่วยเหลือผู้ป่วย แต่กิจกรรมนี้ก็ถือว่า เป็นทางอ้อมที่เราจะช่วยเหลือผู้ป่วยได้เหมือนกัน

ออกรับบริจาค มอบธงและและสติ๊กเกอร์ที่ระลึกแก่ผู้มีจิตศรัทธา
       
http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000111831

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
blog
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.ksmecare.com/docSeminar/520902031848987.pdf
http://www-01.ibm.com/software/th/events/lotusliveevent/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm

ผู้ติดตาม