เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน

ร่วมสร้างกฎหมายกับไอลอว์
Blognone Bookmark and Share

23 กันยายน 2552

Check out "บรรยากาศ เวิร์กช็อปเด็กสองภาษา 101 รุ่น 1" on หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้



 
จาก: พ่อมือใหม่ <share@go2pasa.ning.com>
วันที่: กันยายน 21, 2009 3:20 หลังเที่ยง
หัวเรื่อง: Check out "บรรยากาศ เวิร์กช็อปเด็กสองภาษา 101 รุ่น 1" on หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้
ถึง:


หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้
หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้
พ่อมือใหม่
Check out the video 'บรรยากาศ เวิร์กช็อปเด็กสองภาษา 101 รุ่น 1'

บรรยากาศ เวิร์กช็อปเด็กสองภาษา 101 รุ่น 1
บรรยากาศ เวิร์กช็อปเด็กสองภาษา 101 รุ่น 1
Video link:
บรรยากาศ เวิร์กช็อปเด็กสองภาษา 101 รุ่น 1

เกี่ยวกับเว็บไซต์ หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้
จากบ้านไม่กี่หลังของผู้เห็นด้วยกับแนวทางสอนภาษาที่สองให้กับลูก โดยใช้วิธีสอนแบบเด็กสองภาษา ทำให้เกิดครอบครัวสองภาษาขึ้นเป็นหมู่บ้านแห่งนี้
หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ 5110 สมาชิก
7765 รูปภาพ
354 วีดีโอคลิป
2118 กระทู้
6 กิจกรรม
468 เนื้อหาบล็อก
 
To control which emails you receive on หมู่บ้านเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้, click here



--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
chun
http://tham-manamai.blogspot.com /sundara        
http://dbd-52hi5com.blogspot.com/ dbd_52
http://thammanamai.blogspot.com/ อายุวัฒนา
http://sunsangfun.blogspot.com/ suntu
http://originality9.blogspot.com/ originality
http://wisdom1951.blogspot.com/ wisdom

20 กันยายน 2552

อ่านอะไร เป็นอะไร

วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11517 มติชนรายวัน


อ่านอะไร เป็นอะไร


คอลัมน์ โลกสองวัย

โดย บางกอกเกี้ยน




กลางเดือนหน้าตุลาคม มีงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ อีกครั้ง และอีกครั้ง

วันที่4 ตุลาคม เป็นวันออกพรรษา จากนั้นพระสงฆ์จะรอรับกฐิน ทั้งกฐินพระราชทานและที่หน่วยงานขอรับกฐินพระราชทานไปทอดยังวัดหลวง ฝ่ายเอกชนชาวบ้านทั่วไปที่ตั้งองค์กฐินไว้ตั้งแต่ยังไม่ออกพรรษาก็กำหนดวัน ไปทอดกฐินสามัคคี ทำบุญออกพรรษาตามธรรมเนียม

เช้าวันอาทิตย์โน้น ตื่นเช้าเปิดวิทยุหลังแปดโมง เพลงชาติจบแล้ว ได้ยินว่าท่านพระราชวิจิตรปฏิภาณ (เจ้าคุณพิพิธ) วัดสุทัศน์ฯ เทศนาประจำเช้าวันอาทิตย์นั้น

ฟังเริ่มต้นทราบว่าท่านจะเทศน์ถึงวาระการอ่านหนังสือแห่งชาติของรัฐบาลนี้ ที่นายกรัฐมนตรีเพิ่งจะไปเปิดงานวันก่อนหน้านั้น

ท่านบอก ว่า แท้ที่จริงไม่น่าจะเป็นวาระแห่งชาติ แต่ควรเป็นภาระแห่งชาติ แล้วท่านก็ร่ายสั้นถึงความสำคัญของการอ่านหนังสือ ฟังไปฟังมาชักเข้าท่าที่ท่านบอกว่าไม่อ่านอะไรเป็นอะไรไม่ได้ เชิญสดับ

"ไม่อ่านพระไตรปิฎก เป็นนักปกครองไม่ได้ ไม่อ่านนิทานชาดกในพระสูตร เป็นนักพูดที่ดีไม่ได้ ไม่อ่านพระอภิธรรม เป็นนักกรรมฐานไม่ได้ ไม่อ่านพระอภัยมณี เป็นกวีไม่ได้ ไม่อ่านพระมหาชนก ยกฐานะไม่ได้ ไม่อ่านมโหสถบัณฑิต เป็นนักคิดไม่ได้ ไม่อ่านศรีธนญชัย เป็นเสนาธิการให้ใครไม่ได้ ไม่อ่านสามก๊กให้จบ เป็นนักรบไม่ได้ ไม่อ่านคัมภีรไตรเภท เป็นผู้วิเศษไม่ได้ ไม่อ่านโมรา-กากี เป็นหญิงที่ดีไม่ได้

"ไม่อ่านพงศาวดาร เป็นนักวิชาการไม่ได้ ไม่อ่านประวัติศาสตร์ สร้างชาติ-กู้ชาติไม่ได้ ไม่อ่านบทกวี เป็นนักคิดที่ดีไม่ได้ ไม่อ่านภาษาต่างประเทศ หากินข้ามเขตไม่ได้ ไม่อ่านนวนิยาย เขียนจดหมายเอาดีไม่ได้ ไม่อ่านและท่องหนังสือสวดมนต์ เป็นคนดีไม่ได้ ไม่อ่านพระคัมภีร์ เป็นศาสนิกที่ดีไม่ได้ ไม่อ่านราชาศัพท์ เป็นคนระดับสูงไม่ได้ ไม่อ่านข่าว ก้าวทันโลกไม่ได้ ไม่อ่านรามเกียรติ์ เป็นเซียนชั้นปกครองไม่ได้

"ไม่อ่านนิทานพื้นบ้าน สนิทสนมกับลูกหลานไม่ได้ ไม่อ่านบทวิเคราะห์ เจาะลึกข้อมูลของปัญหาไม่ได้ ไม่อ่านบุคคลสำคัญ คิดงานสร้างสรรค์ไม่ได้ ไม่อ่าน พล นิกร กิมหงวน สร้างความเสสรวลไม่ได้ ไม่อ่านพระบรมราโชวาท เป็นนักปราชญ์และนักปกครองไม่ได้ ไม่อ่านหนังสือนานาชนิด เป็นบัณฑิตไม่ได้ ไม่อ่านหนังสือโต้ตอบทางราชการ ปฏิบัติงานไม่ได้"

ท่านเจ้าคุณพิพิธฯบอกกล่าวถึงการสร้างวินัยกับใจรักการอ่านไว้ 10 ขั้น ที่นำมาเกริ่นนำเป็นขั้นที่ 3

ส่วนขั้นอื่น คือ
ขั้นที่ 1 ต้องฝึกการอ่าน 3 แบบ คือใจจดจ่อ ปากกา-ดินสอจดบันทึก ท่องและนึกทบทวน
ขั้นที่ 2 ถามตนเองเนื่องๆว่า 1 วัน อ่านหนังสือดีมีสาระกี่หน้า 1 สัปดาห์ เข้าห้องสมุดค้นคว้ากี่ครั้ง 1 เดือน จ่ายสตางค์ซื้อหนังสือดีๆ กี่เล่ม
ขั้นที่ 3 คือขั้นสำรวจว่าตนเองอ่านหนังสือ (ที่เกริ่นนำ) หรือยัง
ขั้นที่ 4 ตั้งคำถาม อ่านอย่างไร อ่านอะไร อ่านแล้วจะเอาไปทำอะไร และอ่านที่ไหน
ขั้น ที่ 5 ต้องเขียนเตือนใจตนเองเสมอว่าไม่รักการเรียนรู้ภาษาไทย เป็นอะไรไม่ได้ อ่านภาษาไทยไม่แตกฉาน เป็นนักศึกษา-นักวิชาการไม่ได้
ขั้นที่ 6 ขอให้รู้ในใจตนเองเสมอว่าเขียนหนังสือหนึ่งตัว คือเงินหนึ่งตังค์ กระเป๋าหนังสือที่ถือหรือแบกข้างหลัง คือถังใส่เงินทอง
ขั้นที่ 7 จงรู้แก่ใจตนเองว่าห้องสมุด คือ สุดยอดของที่พักผ่อนหย่อนใจ
ขั้นที่ 8 จงรู้ว่าคบคนที่ดี ต้องคบคนที่เข้าห้องสมุด หาคู่ครองที่ดี ให้หาที่ห้องสมุด หนีเพื่อนชั่ว จงพาตัวเข้าห้องสมุด
ขั้น ที่ 9 จงเตือนใจตนเองว่าถ้าไม่รักการเรียนรู้ จะมีชีวิตอยู่อย่างอับเฉา ถ้าอ่านหนังสือไม่ทันเขา จะต้องเศร้าเพราะอับจน และ
ขั้นที่ 10 จงเก็บหนังสือที่มีค่า เหมือนกับว่าเก็บเพชรทอง เงินทองกองอยู่ข้างหน้า ถ้าเรามีความรู้วิชาเสียวันนี้

ท่านเจ้าคุณพิพิธฯ เป็นพระนักเทศน์ที่ได้รับนิมนต์ไปเทศน์อยู่เนืองๆ ซึ่งกิจของสงฆ์ วันนี้ท่านอยู่ในสมณศักดิ์ "พระราชวิจิตรปฏิภาณ"

มีเวลาไปเสวนาธรรมกับท่านที่วัดสุทัศน์ฯ เสาชิงช้า บ้างนะโยม


หน้า 20
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pra04210952&sectionid=0131&day=2009-09-21

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
blog
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/
http://newsblog9.blogspot.com/
http://bloghealth99.blogspot.com/
http://labour9.blogspot.com/
http://www.ksmecare.com/docSeminar/520902031848987.pdf
http://www-01.ibm.com/software/th/events/lotusliveevent/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html

19 กันยายน 2552

ลูกคุณเป็น "แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม" หรือไม่

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 กันยายน 2552 08:28 น.
       ถ้าพูดถึง ”เด็กออทิสติก” คงจะเป็นคำที่คุ้นหูและนึกภาพออกว่ามีลักษณะอาการเป็นอย่างไร แต่ถ้าเอ่ยถึง “แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม” (Asperger’s Syndrome) แล้ว หลายครอบครัวอาจไม่คุ้นชิน ขณะที่บางครอบครัวอาจจะต้องรู้จักกับชื่อนี้เป็นอย่างดี
       
       ลักษณะของ “แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม” นี้ “นพ.จอม ชุมช่วย” จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลมนารมย์ ให้ข้อมูลไว้น่าสนใจว่า เมื่อปี พ.ศ. 2483 มีการรายงานถึงกลุ่มอาการผิดปกติทางพฤติกรรม และพัฒนาการของเด็ก โดยคุณหมอฮานส์ แอสเพอร์เกอร์ (Hans Asperger) เป็นผู้ค้นพบลักษณะของกลุ่มอาการดังกล่าว
       
       คน ไข้ส่วนใหญ่ที่พบ จะเป็นเด็กผู้ชายที่มีความเฉลียวฉลาด และมีระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่วนด้านภาษาสามารถพูดคุยสื่อสารปกติได้เช่นกัน แต่เด็กเหล่านี้จะมีปัญหาในด้านทักษะการเข้าสังคม ร่วมกับการมีพฤติกรรมหมกมุ่น และมีความสนใจซ้ำซาก จึงตั้งภาวะนี้ว่า “แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม” ตามชื่อของเขา
       

       สำหรับสาเหตุของโรคแอสเพอร์เกอร์ นพ.จอม เล่าว่า ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่มีผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเชื่อว่า มีหลายปัจจัยร่วมกัน ทั้งจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม แต่ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด ขณะเดียวกันในปัจจุบันยังไม่มียาใดที่ใช้รักษาอาการเหล่านี้ให้หายเป็นปกติ แต่พบว่าเด็กเหล่านี้ส่วนใหญ่ เมื่อได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และให้ความรู้ความเข้าใจกับพ่อแม่ รวมทั้งทางโรงเรียน ในเรื่องการปรับตัว และปรับพฤติกรรมของเด็ก ก็สามารถช่วยให้เด็กอยู่ร่วมในสังคมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
       
       ทั้งนี้ จิตแพทย์เด็ก และวัยรุ่นได้อธิบาย และให้คำแนะนำถึงพฤติกรรม รวมไปถึงลักษณะอาการของเด็กที่เป็นแอสเพอร์เกอร์ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ
       
       1. ด้านภาษา คือ เด็กกลุ่มนี้ จะมีการพูด และทักษะการใช้ภาษาอยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งเด็กอาจพูดถูกหลักไวยากรณ์ แต่ไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาที่ลึกซึ้ง หรือความหมายโดยนัยที่แฝงอยู่ เช่น มุกตลก คำเปรียบเปรย และคำประชดประชันต่างๆ เป็นต้น

       2. ด้านสังคม จะสังเกตได้ว่าเมื่อเด็กต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ อาจมีพฤติกรรมการแสดงออกที่ดูแปลกกว่าเด็กวัยเดียวกัน เช่น ไม่ค่อยมองหน้า หรือสบตาเวลาพูดคุย ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ไม่ค่อยสนใจบุคคลรอบข้าง เล่นกับเด็กคนอื่นไม่ค่อยเป็น ไม่รู้จักการทักทาย พอเจอปุ๊บอยากถามอะไร อยากรู้อะไรก็จะพูดโพล่งออกมา ไม่มีการเกริ่นนำ ถามเรื่องที่สนใจโดยไม่เสียเวลา และไม่ค่อยรู้จักกาลเทศะ เรื่องที่พูดคุยมักเป็นเรื่องของตนเองมากกว่าเรื่องอื่นๆ ไม่แสดงความใส่ใจ หรือสนใจเรื่องราวของคนอื่น ขาดความเข้าใจหรือเห็นใจผู้อื่น และมักชอบพูดซ้ำๆ เรื่องเดิมๆ ที่ตนเองสนใจ
       
       3. ด้านพฤติกรรม เด็กจะมีความสนใจเฉพาะเรื่อง และชอบทำอะไรซ้ำๆ เช่น ถ้าเขามีความสนใจอะไรก็จะสนใจมากจนถึงขั้นหมกมุ่น โดยเฉพาะกับเรื่องที่ค่อนข้างมีความซับซ้อน และอาจเป็นเรื่องที่คนอื่นไม่สนใจ เช่น แผนที่โลก วงจรไฟฟ้า ยี่ห้อรถยนต์ ดนตรีคลาสสิค ไดโนเสาร์ ระบบสุริยจักรวาล เป็นต้น โดยความสนใจเหล่านี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา ในบางรายมีความไวต่อสิ่งเร้าที่มาจากภายนอกค่อนข้างมากกว่าคนทั่วไป
       
       อย่าง ไรก็ดี นพ.จอม ระบุต่อว่า โดยทั่วไป เด็กที่มีภาวะดังกล่าว จะมีสติปัญญาดี มีความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในเรื่องต่างๆ ที่ต้องทำในชีวิตประจำวันอยู่ในขั้นพอใจ ซึ่งบางคนอาจมีปัญหาสมาธิสั้น หรือปัญหาการจัดลำดับเรื่องราวต่างๆ แต่โดยรวมแล้วเด็กเหล่านี้จะมีระดับสติปัญญาที่เป็นปกติ หรืออาจจะดีกว่าปกติด้วยซ้ำ

       กระนั้น ครอบครัวถือว่ามีบทบาทสำคัญที่ต้องช่วยกันดูแล รวมทั้งต้องทำความเข้าใจกับปัญหา และศึกษาวิธีแก้ไขปัญหา เรียนรู้ทักษะต่างๆ จากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน หากเด็กได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างเหมาะสม ทั้งในการพัฒนาด้านสังคม และพฤติกรรม เด็กจะสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขต่อไป
       
       นอกจากนี้ จิตแพทย์เด็ก ได้ให้ข้อแนะนำสำหรับพ่อแม่ในการช่วยเด็กที่มีภาวะเป็นแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม อย่างเหมาะสม ดังนี้
       
       - พ่อแม่ควรเล่นกับเด็ก โดยเอาความสนใจของเด็กเป็นที่ตั้ง แล้วค่อยๆ ขยายความสนใจเหล่านั้นไปในแง่มุมอื่นๆ โดยมีเป้าหมายที่จะแบ่งปันความสนใจ และอารมณ์ซึ่งกันและกัน
       
       - สนทนากับเด็กด้วยคำง่ายๆ ชัดเจน และถ้าเป็นตัวอย่างก็ควรเป็นสิ่งของในสถานการณ์จริงหรือรูปภาพ จะทำให้เด็กเข้าใจง่าย และเกิดการเรียนรู้ได้เร็ว
       
       - สร้างบรรยากาศในการทำกิจกรรมให้รู้สึกสบายๆ ไม่เครียด มีความอบอุ่นและเป็นกันเอง
       
       - ในการเล่นหรือการเรียนของเด็ก ควรจัดเป็นกลุ่มเล็กๆ เพื่อให้เด็กได้คุ้นเคยกับกฎระเบียบของกลุ่มเล็กก่อน ก่อนให้เด็กเข้าในกลุ่มใหญ่
       
       - การใช้คำสั่งกับเด็กต้องมีความสม่ำเสมอ คงเส้นคงวาไม่เปลี่ยนแปลงบ่อย
       
       - สนับสนุนให้เด็กเข้าเรียนร่วม ช่วยให้สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน และใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นได้
       
       - สนับสนุนกิจกรรมหลากหลายเพื่อให้เด็กได้มีประสบการณ์ใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้เพื่อลดความสนใจและความเคยชินที่ซ้ำซาก

       
       พร้อมกันนี้ เมื่อสอบถามไปยังผู้ปกครองของนักเรียนชั้น ป.6 รายหนึ่ง ซึ่งเปิดเผยว่า เมื่อรู้ว่าลูกเป็นโรคแอสเพอร์เกอร์ ยอมรับว่ามีความทุกข์พอสมควร เพราะลูกไม่ชอบเข้าสังคม ไม่พูดคุยกับใคร ไม่ร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ บางทีก็ไม่ยอมส่งการบ้าน ทำให้ถูกครูตี และครูเข้าใจผิดว่าเป็นเด็กดื้อ ซึ่งจริงๆ แล้วเขาป่วย เด็กแอสเพอร์เกอร์จะมีความอ่อนไหวมาก เวลาที่เขารักใครก็จะรักจริง ชอบทำอะไรก็จะทำแบบสุดโต่ง ดังนั้นจะต้องทำความเข้าใจและช่วยเหลือเขา
       
       “ที่ ผ่านมาตัวเองพยายามดูแลเขาโดยยอมที่จะลาออกจากงาน และกว่าจะเข้าใจลูกก็ใช้เวลานานพอสมควร นอกจากนี้การทำงานร่วมกับครู แพทย์ และโรงเรียนจะเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะช่วยเหลือเด็กได้ วันนี้พยายามที่จะดึงเอาจุดเด่นๆของเขา คือการเล่านิทานออกมาเพื่อส่งเสริมให้เขาเกิดความภาคภูมิใจ ซึ่งเขาก็ตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่าจะเป็นนักเขียนและนักแปลที่มีชื่อเสียงให้ ได้” ผู้ปกครองที่มีลูกเป็นแอสเพอร์เกอร์เล่า
       
       ถึง อย่างไรเสีย “แอสเพอร์เกอร์” ไม่ใช่ภาวะที่รุนแรง แต่เป็นภาวะที่มีผลต่อการแสดงออกทางพฤติกรรม ทางที่ดีการให้ความรักความเข้าใจ และสนับสนุนเด็กอย่างถูกต้องเหมาะสม ทั้งนี้พ่อแม่จะต้องคอยศึกษาหาความรู้ และมีเวลาดูแลลูกอย่างใกล้ชิด เพื่อสังเกตว่า ความถนัด และสิ่งที่เด็กมีความสามารถนั้นคืออะไร แล้วจึงค่อยส่งเสริม
       
       หรือถ้าหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแอสเพอร์เกอร์ สามารถปรึกษาจิตแพทย์เด็ก และผู้เชี่ยวชาญได้ที่ โรงพยาบาลมนารมย์ โทร 02-725-9595
www.manarom.com
http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9520000106635

--
Web link
http://www.cloudbookclub.com/about.htm
http://weblogcamp2009.blogspot.com
http://sundara21.blogspot.com/
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com/v1/
http://cloudbookclub.blogspot.com
http://blogok09.blogspot.com
http://thairaptorgroup.com/TRG/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2049
http://www.ias.chula.ac.th/Thai/modules.php?name=NuCalendar

ฟังวิธีแก้ปัญหาการไม่หม่ำข้าว-ผักในเด็กไทย!

ฟังวิธีแก้ปัญหาการไม่หม่ำข้าว-ผักในเด็กไทย!
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 กันยายน 2552 12:56 น.
 
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
       ยุคสมัยนี้ ปัญหาโลกแตกที่สร้างความหนักใจแก่พ่อแม่ยุคใหม่ เห็นทีจะหนีไม่พ้น ปัญหาเด็กไทยกินยาก และไม่กินผัก โดยเฉพาะในส่วนหลัง ผลสำรวจพบว่ามีเพียง 41.1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เด็กกินผักทุกวัน ซึ่งปัญหาเหล่านี้กลายเป็นความกังวลใจแก่พ่อแม่ที่ต่างกลัวว่า ลูกน้อยจะไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย
       
       เรื่องนี้ "นพ.ไพบูลย์ เอกแสงศรี" กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ กล่าวว่า ช่วงวัยเด็กเป็นช่วงเวลาที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต เด็กจำเป็นต้องได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ แต่ปัญหาที่พบคือ เด็กในช่วงวัยเด็กตั้งแต่ 1 ขวบขึ้นไป มักไม่ชอบกินข้าว หรือกินผัก ทั้งๆ ที่เป็นแหล่งของวิตามิน และเกลือแร่ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย
       
       ไม่ว่าจะเป็น แครอท ที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ ช่วยในการมองเห็น มะเขือเทศ มีวิตามินซี ช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง ผักขม ให้วิตามินเค ช่วยสร้างสารที่ทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือด และแคลเซียมซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก และฟัน
       
       อย่าง ไรก็ดี เมื่อลูกเกิดอาการเบื่ออาหาร คุณหมอแนะนำว่า คุณแม่ต้องปรับเปลี่ยนเมนูให้ตรงกับความชอบของลูก สำหรับเด็กๆ ที่ไม่ชอบทานผัก อาจจะต้องทำเมนูผักชุบแป้งทอด แล้วจิ้มกับซอสมะเขือเทศ หรือซอสรสหวาน เพื่อให้รสชาติของผักเป็นที่ถูกใจคุณลูกมากขึ้น
       

       ขณะเดียวกันก็ต้องคอยปลูกฝังให้เด็กเห็นความสำคัญของการกินผัก โดยโยงกับตัวการ์ตูนที่เด็กชื่นชอบ แต่ถ้าทำแล้วไม่ได้ผล คุณแม่อาจจะต้องหาอาหารเสริม หรือวิตามินเสริมให้ลูกกิน เพื่อให้เด็กได้รับวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย และไฟเบอร์ช่วยป้องกันอาการท้องผูกที่อาจเกิดขึ้นได้
       
       ด้านปัญหา “พฤติกรรมกินยากของเด็กไทย” โดยเฉพาะเด็กเล็ก ที่ยังคงเป็นปัญหาสำหรับคุณแม่ และคุณพ่อไม่ใช่น้อย สอดรับกับงานวิจัยของสวนดุสิตโพลเรื่อง “พฤติกรรมการกินยากในเด็กเล็ก” ที่ทำการสำรวจกลุ่มเป้าหมายคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 2-6 ขวบ จำนวน 1,148 คน ในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยใช้แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ จำนวน 11 ประเด็น ในเดือน กรกฎาคม 2552 ที่ผ่านมา ผลสรุปออกมาว่า

“รศ.นพ.สังคม จงพิพัฒน์วณิชย์”
       คุณแม่ 85.54 % ป้อนอาหารให้กับลูกด้วยตัวเอง และมีคุณแม่ถึง 61.67 % มีการทะเลาะกับลูกเรื่องการกินข้าวของลูก สำหรับปัญหาที่คุณแม่กังวลมากที่สุด คือ ลูกทานข้าวช้ากว่าจะหมดจานและอมข้าว ซึ่งมี 31.76 % รองลงมาคือ ลูกไม่ชอบกินผัก และผลไม้ 26.53 %
       
       โดยพบสาเหตุหลักว่า อาหารไม่ถูกปากลูก รวมถึงมีสิ่งยั่วยุ เร้าใจอื่นๆ เช่น เล่นกับเพื่อน หรือดูทีวี และยังไม่หิว ด้านวิธีการของคุณแม่ส่วนใหญ่ที่นิยมทำให้ลูกยอมกินข้าว คือ การอ้อนวอน และติดสินบน ซึ่งมีถึง 35 % รองลงมาคือบ่น ดุ 17.88 %
       
       ทั้งนี้ผลกระทบที่คุณแม่คิดว่า ได้รับมากที่สุดจากการที่ลูกกินยาก คือ คุณแม่ 30.58 % อารมณ์เสีย หงุดหงิด รองลงมาคือ 29.27 % มีผลกระทบต่อพัฒนาการลูก รวมไปถึง 22.34 % บอกว่าสิ้นเปลืองเวลา
       
       จากผลวิจัยข้างต้น เป็นการเก็บข้อมูลระยะสั้น แต่สะท้อนให้เห็นว่า พฤติกรรมการกินยากของเด็กเล็ก ยังคงเป็นปัญหาที่คุณแม่ส่วนใหญ่แก้ไม่ตก ประเด็นนี้ “รศ.นพ.สังคม จงพิพัฒน์วณิชย์” หัวหน้าหน่วยโภชนาการกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เคยแนะนำกับทีมงาน Life and Family ว่า
       
       คุณ แม่ต้องเข้าใจพัฒนาการของลูกก่อน เพราะลูกวัย 2-6 ขวบ จะกินอาหารได้น้อยลง ซึ่งน้อยว่าตอนอายุ 1 ขวบ ดังนั้นไม่ควรกดดัน หรือบังคับให้ลูกกินอาหาร นอกจากนี้ขณะกินข้าว ไม่ควรให้ลูกกินอยู่หน้าจอโทรทัศน์ หรือกินไปเล่นไป เพราะเด็กในวัยนี้ เป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็น จะทำให้เด็กหนีห่างจากการกินข้าว เพื่อไปดู หรือเล่นกับสิ่งเร้าเหล่านั้นได้
       

       สิ่ง ที่คุณแม่ หรือคุณพ่อควรระวัง อ้างจากผลงานวิจัย คุณหมอบอกว่า การติดสินบนเพื่อให้ลูกกินข้าว อาจส่งผลเสียต่อเด็กในตอนโตได้ ทางที่ดี ไม่ควรติดสินบนลูก เช่น กินหมดจะซื้อขนมให้ แต่ควรเปลี่ยนวิธีการให้รางวัลทางใจกับลูกแทน เช่น ปรบมือให้เป็นรางวัล นั่นจะทำให้เด็กไม่เคยตัว และต่อรองเวลากินข้าว

http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9520000103259


--
Web link
http://www.cloudbookclub.com/about.htm
http://weblogcamp2009.blogspot.com
http://sundara21.blogspot.com/
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com/v1/
http://cloudbookclub.blogspot.com
http://blogok09.blogspot.com
http://thairaptorgroup.com/TRG/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2049
http://www.ias.chula.ac.th/Thai/modules.php?name=NuCalendar

18 กันยายน 2552

ตามโผ! "ทพ.กฤษดา" นั่ง ผจก.สสส.คนใหม่ คุมเงินก้อนบิ๊ก 2 พันล้าน

ตามโผ! “ทพ.กฤษดา” นั่ง ผจก.สสส.คนใหม่ คุมเงินก้อนบิ๊ก 2 พันล้าน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 กันยายน 2552 17:26 น.
ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์
       ไม่พลิก! “มาร์ค” นั่งหัวโต๊ะเคาะผู้จัดการ สสส.คนใหม่ บอร์ดมีมติเอกฉันท์เลือก “ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์” รับตำแหน่งตามคาดหลังโชว์วิสัยทัศน์เข้าตากรรมการ
       

       เมื่อวันที่ 18 กันยายน ที่ทำเนียบรัฐบาล ในการประชุมคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน สสส.เป็นประธานในที่ประชุม โดยที่ประชุมได้พิจารณาวาระการสรรหาผู้จัดการกองทุน สสส.คนใหม่ แทนนพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการกองทุน สสส.ที่จะหมดวาระลงในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 หลังจากได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในวาระที่ 2 ซึ่งตามข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพว่าด้วยการบริหารงาน บุคคล พ.ศ.2547 กำหนดให้คณะกรรมการกองทุนแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา เพื่อดำเนินการสรรหาผู้จัดการกองทุนคนใหม่ และเสนอให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาแต่งตั้ง ก่อนผู้จัดการกองทุนจะหมดวาระลงไม่น้อยกว่า 90 วัน
       
       นพ.บรรลุ ศิริพานิช ประธานกรรมการสรรหาผู้จัดการกองทุน กล่าวว่า คณะกรรมการสรรหาผู้จัดการกองทุน สสส.ได้รายงานผลการสรรหาให้กับคณะกรรมการกองทุนพิจารณาโดยได้ดำเนินการสรรหา ตามหลักเกณฑ์ของข้อบังคับกองทุน สสส.ทุกประการ ด้วยการประกาศรับสมัครผ่านทางหนังสือพิมพ์และทางเว็บไซต์ ซึ่งพบว่ามีผู้สมัครเข้ามาจำนวน 6 คน และผู้ได้รับการเสนอชื่อจากหน่วยงานอื่นๆ จำนวน 3 คน รวมเป็น 9 คน ซึ่งจากการตรวจสอบคุณสมบัติ พบว่า ล้วนเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงและมีคุณสมบัติที่ดี จึงได้นัดหมายให้ผู้สมัครทั้ง 9 คน มาแสดงวิสัยทัศน์ในวันที่ 11-12 กันยายน ที่ผ่านมา แต่พบว่ามีผู้สมัคร 2 คน ไม่สามารถมาได้ จึงใช้วิธีสัมภาษณ์และให้แสดงวิสัยทัศน์ทางโทรศัพท์ภายหลัง
       
       จากนั้นคณะกรรมการสรรหาฯได้ประชุม และลงคะแนนทางลับ พบว่า คณะกรรมการสรรหาฯมีมติเป็นเอกฉันท์ทั้ง 7 คน ลงคะแนนให้กับทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ รองผู้จัดการ สสส.เป็นผู้จัดการกองทุนคนใหม่ จึงเสนอต่อคณะกรรมการกองทุน สสส.พิจารณา ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบตามรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาฯเสนอ
       
       สำหรับประวัติของ ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ นั้น เกิดเมื่อวันที่ 14 ส.ค.2508 ปัจจุบันอายุ 44 ปี สำเร็จการศึกษาหลักสูตรทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2532 วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (Computer Science) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2357 และประกาศนียบัตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับ สูง จากสถาบันพระปกเกล้า ในปี 2552 เคยดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ในเดือนมีนาคม 2550 - มกราคม 2551 และดำรงตำแหน่ง รองผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบัน
       
       ทพ.กฤษดา เป็นผู้มีผลงานวิชาการที่ได้รับการยอมรับจากทั้งในและต่างประเทศ อาทิ ได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์ด้านซอฟต์แวร์ในงานจุฬาไฮเทค จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รางวัล “นักสุขศึกษาดีเด่นแห่งชาติ ระดับนโยบาย” จากสมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และนันทนาการแห่งประเทศไทย การทำงานวิจัยด้านนโยบายสุขภาพให้กับองค์การอนามัยโลก และงานวิจัยด้านนโยบายการเงินให้กับธนาคารโลก
       
       ในด้านประสบการณ์และผลงานการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสังคม ทพ.กฤษดา เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มและร่วมผลักดันการรณรงค์และมาตรการต่างๆ อาทิ “งดเหล้าเข้าพรรษา” และร่วมวางกลยุทธ์ในการสร้างกระแสสังคม เพื่อให้เกิดการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในระหว่างเวลา 05.00-22.00 น.จนประสบผลสำเร็จ
       
       ทั้งยังเป็นผู้สนใจงานด้านเด็กและเยาวชน มีการดำเนินงานในเรื่องนี้หลายด้าน อาทิ การผลักดันให้เกิดเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน เพื่อรณรงค์ลดการบริโภคน้ำตาลในเด็กและเยาวชน และขับเคลื่อนให้เกิดกฎกระทรวง “ห้ามเติมน้ำตาลในนมและอาหารเสริมสำหรับทารก” การผลักดันมาตรการควบคุมการโฆษณาขนม ในรายการโทรทัศน์ (การจัดเรตติ้งรายการโทรทัศน์ โดยกำหนดสัญลักษณ์ เช่น ท, น13, ฉ เพื่อจำแนกประเภทของรายการโทรทัศน์ให้เหมาะสมกับวัยของผู้ชม) การผลักดันมาตรการควบคุมการโฆษณาขนม ในรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว การผลักดันการแก้ปัญหาการใช้อินเตอร์เน็ตและเล่นเกมส์ในเด็กและเยาวชนผ่าน มาตรา ได้แก่ การจัดระเบียบร้านเน็ตและเกมส์ การจัดระดับความเหมาะสมของเกมส์ การพัฒนาหลักสูตรการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ในโรงเรียน และการพัฒนากฎหมายเพื่อการดูแลสื่อที่อันตรายสำหรับเด็กและเยาวชน และการจัดทำวาระเด็กและยาวชนแห่งชาติปี 2550-2551
       
       ผลงานในปัจจุบัน คือ การทำงานเป็นหนึ่งในคณะอนุกรรมการสนับสนุนป้องกันและควบคุมแก้ปัญหาการระบาด ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และการสนับสนุนให้เกิดนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพสต.) ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000109292

--
Web link
http://www.cloudbookclub.com/about.htm
http://weblogcamp2009.blogspot.com
http://sundara21.blogspot.com/
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com/v1/
http://cloudbookclub.blogspot.com
http://blogok09.blogspot.com
http://thairaptorgroup.com/TRG/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2049

ผู้ติดตาม