เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน

ร่วมสร้างกฎหมายกับไอลอว์
Blognone Bookmark and Share

06 กรกฎาคม 2552

นักวิจัยยันชัด "ยีนนักรบ" มักพบในกลุ่มโจร-แก๊งอาชญากรรม

นักวิจัยยันชัด "ยีนนักรบ" มักพบในกลุ่มโจร-แก๊งอาชญากรรม
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 มิถุนายน 2552 12:12 น.
ทีมนักวิจัยสหรัฐฯ ศึกษาและยืนยันว่ายีนนักรบ หรือยีน MAOA ที่มีความผันแปร มักพบว่ามีอยู่ในผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ชอบพกพาอาวุธ และมักเป็นชายที่อยู่ในแก๊งอาชญากรรม (ภาพประกอบจาก ไซน์เดลี/iStockphoto/S.P. Rayner)
       เฉลยเหตุชายที่ชอบความรุนแรง หรือร่วมแก๊งโจรก่ออาชญากรรม ที่แท้มียีนผันแปรบางตัว นักวิจัยเรียก "ยีนนักรบ" เพราะพบมากในกลุ่มสังคมที่ชอบทำสงคราม เผยหญิงมีสำเนายีนดังกล่าวมากกว่าชาย แต่ชายได้รับผลจากยีนมากกว่าหญิง เพราะมีแค่สำเนาเดียวจึงแสดงออกได้เต็มที่หากมีการผันแปร
       

       ทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยฟลอริดาสเตรท หรือเอฟเอสยู (Florida State University: FSU) มหาวิทยาลัยไอโอวาสเตท (Iowa State University) และมหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ (Saint Louis University) สหรัฐอเมริกา เผยผลการศึกษาว่ายีน "โมโนเอมีน ออกซิเดส เอ" (Monoamine oxidase A: MAOA) หรือที่เรียกว่า "ยีนนักรบ" (warrior gene) มักพบในกลุ่มแก๊งอาชญากรรม รวมถึงคนที่ชอบใช้อาวุธและความรุนแรง ซึ่งช่วยอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างยีนกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดโจรผู้ร้ายก่อปัญหาสังคมได้
       
       เควิน เอ็ม บีเวอร์ (Kevin M. Beaver) นักอาชญวิทยาด้านชีวสังคม (biosocial criminologist) วิทยาลัยอาชญวิทยาและงานยุติธรรม (College of Criminology and Criminal Justice) ของเอฟเอสยู ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมวิจัย เปิดเผยว่า ในขณะที่กลุ่มมิจฉาชีพหรือแก๊งอาชญากรก่อให้เกิดปัญหาสังคม การสืบสวนสอบสวนในคดีอาชญากรรมเหล่านั้น กลับทำให้พวกเขาพบว่า ความผันแปรที่เกิดขึ้นอย่างจำเพาะเจาะจงกับยีน MAOA ในรูปแบบ โลว์-แอกติวิตี 3-รีพีท อัลลีล (low-activity 3-repeat allele) มีบทบาทเกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญ
       
       นักวิจัยศึกษาโดยการตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูลดีเอ็นเอประกอบกับข้อมูลรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้ต้องหาหรือจำเลยในดดีอาชญากรรมต่างๆ จำนวน 2,500 ราย ที่รวบรวมไว้โดย ศูนย์การศึกษาระยะยาวด้านสุขภาพวัยรุ่นแห่งสหรัฐฯ (National Longitudinal Study of Adolescent Health) ตามที่ระบุในไซน์เดลี และผลการศึกษาได้ตีพิมพ์ในวารสารด้านจิตเวชศาสตร์ "คอมพรีเฮนซีฟ ไซไคอาทรี" (Comprehensive Psychiatry)
       
       "งานวิจัยก่อนหน้านี้เคยชี้ว่าความผันแปรของยีน MAOA โลว์-แอกติวิตี มีความเกี่ยวโยงกับพฤติกรรมต่อต้านสังคม และพฤติกรรมชอบใช้ความรุนแรง แต่การศึกษาของเรายืนยันว่า ความผันแปรที่เกิดขึ้นนั้นสามารถทำนายได้ว่าใครคือผู้ร้ายหรือร่วมอยู่ในแก๊งอาชญากรรมด้วย และยิ่งไปกว่านั้นเราพบว่า จากความผันแปรของยีนเหล่านี้ สามารถจำแนกสมาชิกในแก๊งที่มีพฤติกรรมรุนแรงและชอบใช้อาวุธที่แสดงออกมาให้เห็นชัดแจ้งมากกว่าคนอื่นๆ ที่มีพฤติกรรมดังกล่าวน้อยกว่า" บีเวอร์ กล่าว
       
       ทั้งนี้ ยีน MAOA มีผลต่อระดับของสารสื่อประสาทบางชนิด เช่น โดพามีน (dopamine) และเซอโรโทนิน (serotonin) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางอารมณ์และพฤติกรรม
       
       ส่วนความผันแปรที่เกิดขึ้นกับยีนดังกล่าวก็มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมรุนแรงและถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ซึ่งบางงานวิจัยที่มีการศึกษาก่อนหน้านี้ก็พบว่า "ยีนนักรบ" แพร่กระจายอยู่ทั่วไปในกลุ่มสังคมที่เป็นมักทำสงครามหรือเป็นฝ่ายรุกรานผู้อื่น
       
       บีเวอร์กล่าวต่อว่า สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับยีน MAOA คือตำแหน่งของยีนบนโครโมโซมเอ็กซ์ (X-chromosome) และเนื่องเพศชายที่มีโครโมโซม X และโครโมโซมวาย (Y) อย่างละ 1 คู่ จะมีสำเนาของยีนดังกล่าว 1 สำเนา ขณะเพศหญิง ซึ่งมีโครโมโซม X 2 คู่ ก็จะมียีนนักรบ 2 สำเนา
       
       ฉะนั้น หากผู้ชายมีความผันแปรของยีน MAOA ที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรง ก็จะไม่มียีน MAOA อีกสำเนาหนึ่งมาช่วยต้านหรือลดผลกระทบที่เกิดจากความผันแปรดังกล่าว ทว่าผู้หญิงซึ่งมียีน MAOA จำนวน 2 สำเนา หากสำเนาอันใดอันหนึ่งเกิดความผันแปร ก็จะมียีนอีกสำเนาหนึ่งช่วยชดเชยและทำให้เกิดความสมดุล
       

       "นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมนักวิจัยที่ศึกษายีน MAOA เกือบทุกคนพุ่งเป้าไปศึกษาในเพศชายเสียส่วนใหญ่ และน่าจะเป็นไปได้เช่นกันว่าทำไมผลจากยีน MAOA จึงตรวจพบได้เฉพาะในผู้ชาย" หัวหน้าทีมวิจัยกล่าว.
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000065390


--
Please visit my blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
http://lifeanddeath2mcu.blogspot.com
http://www.thaiyogainstitute.com
http://www.thaihof.org
http://www.parent-youth.net
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://www.pdc.go.th
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://www.biz652.com
http://dbd-52.hi5.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก

ผู้ติดตาม