ผลวิจัยชี้คนเราเลือกคู่ดูกันที่ความต่างของยีน | โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ | 31 พฤษภาคม 2552 00:35 น. | | | | คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น | | | | | กลไกการเลือกคู่ ไม่ได้ดูกันแค่หน้าตาเพียงอย่างเดียว นักวิจัยบราซิลเผยหลักฐานบ่งชี้จิตใต้สำนึกคนเรา บอกให้เลือกคู่ครองเป็นเพศตรงข้ามที่มียีนไม่เหมือนกัน เพราะหวังจะให้ลูกหลานที่เกิดมาแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย เป็นข้อได้เปรียบของวิวัฒนาการเพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ มาเรีย ดา กราซา บิคาลโฮ (Maria da Graca Bicalho) และทีมวิจัย มหาวิทยาลัยปารานา (University of Parana) ประเทศบราซิล ศึกษาคู่แต่งงาน พบหลักฐานบ่งชี้ว่าคนเรามักทำให้ตัดสินใจเลือกคู่ครอง ที่มีความแตกต่างกันทางพันธุกรรม มากกว่าที่จะเป็นไปโดยการสุ่ม ซึ่งทำให้ได้ลูกหลานที่สุขภาพแข็งแรงกว่า และเป็นข้อได้เปรียบในการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต รอยเตอร์ระบุว่า ทีมวิจัยได้นำเสนอผลงานวิจัยเรื่องนี้ ในที่ประชุมวิชาการสมาคมพันธุศาสตร์มนุษย์แห่งยุโรป (European Society of Human Genetics) ที่จัดขึ้นในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปลายเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา "แม้ว่ามันอาจจะโน้มน้าว ชวนให้เราคิดว่าคนเรามักเลือกคู่ครองด้วยเหตุผลที่ว่าพวกเขามีอะไรที่คล้ายๆกัน แต่ผลการวิจัยของเราแสดงให้เห็นชัดเจนเลยว่าเพราะความแตกต่างจึงทำให้การดำรงเผ่าพันธุ์ประสบผลสำเร็จ และจิตใต้สำนึกที่ต้องการมีลูกหลานที่มีสุขภาพแข็งแรง เป็นเงื่อนไขสำคัญของการเลือกคู่" บิคาลโฮ กล่าว ทั้งนี้ นักวิจัยส่วนใหญ่พบหลักฐานแล้วว่าในสัตว์ต่างๆ นั้นมักได้รับความสนใจจากเพศตรงข้ามที่มียีนในส่วนของระบบภูมิคุ้มกันที่เรียก เอ็มเอชซี (major histocompatibility complex: MHC) แตกต่างกัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการมีสุขภาพแข็งแรง และการจับคู่โดยมี MHC ไม่เหมือนกันจะส่งผลดีต่อลูกหลานรุ่นต่อๆไป บิคาลโฮให้รายละเอียดว่า ทีมวิจัยของเขาได้ศึกษาข้อมูลทางพันธุกรรมของคู่สามีภรรยาจำนวน 90 คู่ เปรียบเทียบกับคู่แต่งงานสมมติในกลุ่มควบคุมที่ทำการจับคู่ให้แบบสุ่ม พบว่าคู่แต่งงานจริงมี MHC แตกต่างกันมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ "พ่อแม่ที่มีความแตกต่างกันทางพันธุกรรม จะทำให้ลูกหลานที่เกิดมามีความสามารถป้องกันการติดเชื้อโรคได้ดีกว่า เนื่องจากมียีนที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันที่มีความหลากหลายมากกว่า และถ้ายีน MHC ไม่ได้มีอิทธิพลในการเลือกคู่ครองจริงอย่างที่ว่า เราก็หวังว่าจะเห็นผลการศึกษาที่เหมือนกันระหว่างคู่แต่งงานทั้ง 2 กลุ่ม แต่นี่เรากลับพบว่าคู่แต่งงานที่เป็นคู่ชีวิตกันจริงๆ มีความแตกต่างของ MHC มากกว่าคู่สมมติ และมากกว่าที่จะเกิดขึ้นโดยบังเอิญ" บิคาลโฮ อธิบาย อย่างไรก็ดี นักวิจัยยังไม่ทราบแน่ชัดว่า สัญญาณอะไรที่ดึงดูดคนสองคนที่มีพันธุกรรมไม่เหมือนกันให้มาสนใจกันและกันได้ แต่อาจบอกได้ว่าส่วนหนึ่งนั้นมาจากกลิ่นกายหรือโครงสร้างของใบหน้าที่เป็นสิ่งต้องตาตรึงใจของฝ่ายตรงข้าม และก่อนหน้านี้เคยมีการศึกษากันและได้ข้อมูลว่าสัตว์ส่วนใหญ่จะใช้กลิ่นกายเป็นสัญญาณในการเลือกคู่ที่มีพันธุกรรมเหมือนหรือต่างกัน โดยอาจมีปัจจัยทางกายภาพเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยบ้าง. | | http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000059064 | | | | | |
--
Please visit my blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com http://tham-manamai.blogspot.comhttp://lifeanddeath2mcu.blogspot.comhttp://www.thaiyogainstitute.com http://www.thaihof.orghttp://www.parent-youth.nethttp://www.tzuchithailand.orghttp://www.presscouncil.or.th http://www.pdc.go.thhttp://thainetizen.orghttp://www.ictforall.orghttp://www.biz652.com http://dbd-52.hi5.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น