เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน

ร่วมสร้างกฎหมายกับไอลอว์
Blognone Bookmark and Share

08 กรกฎาคม 2552

"จอน" เปิดเว็บ iLaw ชวนปชช. เขียนกฎหมาย



 
From: i Law <ilawth@googlemail.com>
Date: ก.ค. 7, 2009 5:11 หลังเที่ยง
Subject: "จอน" เปิดเว็บ iLaw ชวนปชช. เขียนกฎหมาย
To:

สวัสดีจ้ะ

เว็บไซต์ iLaw ที่เคยส่งแบบสำรวจไปถามความเห็นเรื่องการแก้ไขกฎหมาย
วันนี้เว็บไซต์เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้ว ;)
ลองแวะไปเดินเล่นได้แล้วจ้ะ ที่ http://ilaw.or.th

และจากแบบสำรวจครั้งนั้นเอง มีการสรุปผลออกมาเป็นงานสองชิ้นนี้

ข้อเสนอจากอินเทอร์เน็ต : คุณอยากแก้กฎหมายอย่างไรบ้าง
คนเล่นเน็ตสน “ภาษีมรดก-ต้านซ้อมทรมาน-เรียนฟรีถึงป.ตรี”

เชิญชวนคุณมาสมัครสมาชิกเป็นชุมชน iLaw ด้วยกัน
หรืออยากทำความรู้จัก iLaw เพิ่มเติม อ่านรายละเอียดได้ที่นี่

ขอบคุณ แล้วพบกันในเว็บไซต์ ;)

---------------------------



"จอน" เปิดเว็บไอลอว์ ชวนปชช. เขียนกฎหมายของประชาชน



(7 ก.ค. 52) - จอน อึ๊งภากรณ์ เปิดเว็บไซต์ไอลอว์ (iLaw) http://ilaw.or.th เปิดตัวอย่างเป็นทางการวันนี้ (7ก.ค.) เปิดพื้นที่ให้ประชาชนร่วมเสนอและแก้ไขกฎหมาย และผลักดันด้วยการล่าชื่อให้ครบหมื่นเพื่อเสนอเข้าสู่กระบวนการรัฐสภา ตามมาตรา 142 และ 193 ของรัฐธรรมนูญ 2550

นายจอน อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) กล่าวว่า เว็บไซต์ไอลอว์ (iLaw) สนใจอยากเห็นและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของคนทั่วไปในการเสนอกฎหมาย ซึ่งมากกว่าเพียงแค่ร่วมลงนาม แต่มีส่วนตั้งแต่การออกแบบเนื้อหา

"มักมีคนถามว่า แล้วเว็บไซต์ไอลอว์จะแก้กฎหมายอะไร คำตอบคือไอลอว์จะเปิดพื้นที่ให้คนที่อยากเสนอกฎหมาย หรือมองเห็นปัญหาแล้วอยากแก้ไขในกฎหมาย มีโอกาสผลักดันข้อเสนอได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยชุมชนช่วยกันบอกข้อเสนอที่อยากแก้ จากนั้นจะมีทีมงานนักกฎหมายช่วยปรับให้มันเป็นร่างกฎหมาย" นายจอนกล่าว

นายจอนกล่าวว่า จากประสบการณ์ที่เคยทำงานเป็นสมาชิกวุฒิสภา อยู่ในกระบวนการนิติบัญญัติ งานหนึ่งที่เป็นหน้าที่หลักคือการแปรญัตติกฎหมาย แม้พบว่ามีอุปสรรคมากมายและต้องเจอกระบวนการที่ซับซ้อน แต่ก็เชื่อว่า มันเป็นขั้นตอนสำคัญที่ประชาชนทั่วไปก็สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียนนิติศาสตร์มาโดยตรง เพราะแม้แต่ ส.ส. และ ส.ว. เอง ก็มีความหลากหลาย และไม่ใช่ทุกคนที่เป็นนักกฎหมาย

"โดยทั่วไป กว่ากฎหมายจะออกมาได้แต่ละฉบับ ต้องเจอขั้นตอนซับซ้อน แม้ปัจจุบันกฎหมายจะเอื้อให้ประชาชนครบหมื่นชื่อเสนอกฎหมายได้ แต่การจะสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมจริงๆ มันต้องมีช่องทางและโอกาสที่เอื้อให้ประชาชนเข้าถึงการแก้ไขกฎหมายได้จริง ซึ่งขั้นนี้น่าจะเป็นช่องทางสำคัญก่อนจะนำไปสู่การล่าชื่อให้ครบหมื่นชื่อ"

นายจอนเสริมว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนมันสอดรับกับกระแสโลกออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นอย่า่งต่อเนื่อง และอินเทอร์เน็ตเป็นแบบจำลองของระบอบประชาธิปไตยที่ค่อนข้างท้าทายระบอบประชาธิปไตยในการเมืองทั่วโลก

"อยากเชิญชวนในทุกคนมาสร้างสรรค์กฎหมาย แม้ว่ากฎหมายจะไม่ใช่คำตอบทั้งหมดของการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม แต่สิ่งสำคัญคือมันจะช่วยสร้างอำนาจการต่อรองให้แก่ประชาชน ในการเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทางที่ดี"

โดยในวันนี้ (7 ก.ค.) เว็บไซต์ไอลอว์ http://ilaw.or.th ซึ่งดำเนินงานโดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน ภายใต้มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม เปิดตัวอย่างเป็นทางการเป็นวันแรก ผอ.โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชนกล่าวว่า เว็บไซต์ไอลอว์จะสนับสนุนการเสนอกฎหมายที่ไม่ขัดกับจุดยืนเรื่องความเป็นธรรมและเท่าเทียมกันในสังคม ไม่ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ และเคารพในระบอบประชาธิปไตย

ปัจจุบัน ในเว็บไซต์ไอลอว์มีเนื้อหาที่เปิดเผยผลสำรวจความเห็นของประชาชนว่ามีความ สนใจอยากแก้ไขกฎหมายใดบ้าง ซึ่งสามารถระดมข้อเสนอได้กว่าร้อยประการ นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายที่อยู่ระหว่างการเปิดประเด็นระดมความเห็นเพื่อแก้ไขกฎหมาย อาทิ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


#######

แนะนำช่องทางลัด :

3 ส่วนหลักสำหรับเล่นเว็บ

"คิด" : เสนอความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเปลี่ยนสังคม ข้อความเล็กๆ จากคุณ ต่อไปอาจกลายเป็นกฎหมายที่ใช้ได้จริง
"
ออกแบบ" : ออกแบบกฎเกณฑ์แก้ไขข้อเสนอ ที่น่าจะมีในร่างกฎหมายประชาชน
"
ลงนาม" : อ่านร่างกฎหมายประชาชน หากพอใจ ก็ร่วมลงนามเป็นหนึ่งในหมื่นรายชื่อผลักดันกฎหมายเข้าสู่กระบวนการ


คลิกตามคำสำคัญ ว่ามีข้อเสนออะไรแล้วบ้าง (คุณเสนอเพิ่มได้!)

การเมือง  แรงงาน  กระบวนการยุติธรรม  สิทธิมนุษยชน  การศึกษา  สิ่งแวดล้อม  สื่อ  เศรษฐกิจ  คุณภาพชีวิต



ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร. 086 897 7828


*******


 




--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
http://lifeanddeath2mcu.blogspot.com
http://www.thaiyogainstitute.com
http://www.parent-youth.net
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://ilaw.or.th
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://www.pdc.go.th
http://www.biz652.com
http://dbd-52.hi5.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก

ผู้ติดตาม