เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน

ร่วมสร้างกฎหมายกับไอลอว์
Blognone Bookmark and Share

06 กรกฎาคม 2552

รู้จัก "ปฏิสสาร" ให้มากขึ้นจาก "เทวากับซาตาน"

รู้จัก "ปฏิสสาร" ให้มากขึ้นจาก "เทวากับซาตาน"
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 31 พฤษภาคม 2552 12:51 น.

ยวน แม็คเกรเกอร์ (ขวา) ในมาดนักบุญแห่งวาติกัน (โคลัมเบียพิคเจอร์ส/เอพี)

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
วิตโตเรีย เวตรา ในภาพยนตร์กำลังกู้ระเบิดปฏิสสารด้วยการเติมแบตเตอรี (โคลัมเบียพิคเจอร์ส/เอพี)

ฉากในภาพยนตร์ ซึ่งทอม แฮงค์ รับบท "โรเบิร์ต แลงดอน" นักสัญลักษณ์วิทยา และ อเยเลท ซูเรอร์ ในบท "วิตโตเรีย เวตรา" นักฟิสิกส์สาวจากเซิร์น (โคลัมเบียพิคเจอร์ส/เอพี)

ในฉากที่ปฏิสสารถูกผลิตขึ้น (โซนีพิคเจอร์ส/ยูเอสเอทูเดย์)

อุปกรณ์กักเก็บในภาพยนตร์ ที่จินตนาการสร้างขึ้นสำหรับการขนย้ายปฏิสสารออกจากห้องทดลอง

แม้จะเคยชี้แจงแถลงไขผ่านเว็บไซต์ของ "เซิร์น" ไปแล้วนับแต่นวนิยาย "เทวากับซาตาน" ของ "แดน บราวน์" ออกมาโลดแล่นผ่านหน้าหนังสือสู่สายตาผู้อ่าน แต่เมื่อเรื่องราวดังกล่าวถูกนำมาเผยแพร่อีกครั้งในแผ่นฟิล์ม ทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องออกมาชี้แจงอีกครั้ง ถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ "ปฏิสสาร" ที่ในเรื่อง ถูกนำเสนอให้เป็นอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง
       
       ในภาพยนตร์ "เทวากับซาตาน" (Angels & Demons) ที่สร้างขึ้นโดยอิงจากนิยายแนวระทึกขวัญของ "แดน บราวน์" (Dan Brown) ที่ล้วงลึกข้อมูลภายในของ "วาติกัน" ผู้นำแห่งคริสตจักร และ "เซิร์น" (องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปยุโรปเพื่อวิจัยและพัฒนาทางด้านนิวเคลียร์ - European Center for Nuclear Research : CERN) ผู้นำแห่งโลกวิทยาศาสตร์ ซึ่งทั้ง 2 องค์กร มีความเชื่อในจุดกำเนิดจักรวาลที่ต่างกันคนละขั้ว
       
       สิ่งที่ฝ่ายวิทยาศาสตร์ได้สร้างขึ้น เพื่อค้นหาต้นตอแห่งจุดกำเนิดของจักรวาลนั่นก็คือ "ปฏิสสาร" (antimatter) โดยห้องแล็บของเซิร์นในภาพยนตร์ได้สร้างปฎิสสารมากถึง 1 กรัม ซึ่งมีความร้ายแรงเทียบเท่าระเบิดไดนาไมต์ 5,000 ตัน นับว่ามากเพียงพอที่จะทำให้กลุ่มองค์กรลับนามว่า "อิลูมิเนติ" (Illuminati) นำมาใช้ข่มขู่ระหว่างการเลือกตั้งพระสันตปาปาองค์ใหม่ เพื่อทำลายล้างให้นครวาติกันหายไปในพริบตา
       
       บอริส เคย์เซอร์ (Boris Kayser) นักวิทยาศาสตร์จากห้องปฏิบัติการเครื่องเร่งอนุภาคเฟอร์มิแห่งสหรัฐฯ (Fermi National Accelerator Laboratory) หรือเฟอร์มิแล็บ (Fermi Lab) ในบาตาเวีย มลรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา กล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า ตัวเลขที่อ้างในภาพยนตร์นั้นถูกต้อง แต่คงต้องใช้เวลาอีกหลายพันล้านปี กว่าที่มนุษย์จะผลิตปฏิสสารได้มากเท่าที่ปรากฎในภาพยนตร์
       

       รอล์ฟ ลันดัว (Rolf Landua) ผู้เชี่ยวชาญด้านปฏิสสารจากเซิร์น และยังเป็นที่ปรึกษาทางด้านฟิสิกส์แก่รอน โฮวาร์ด (Ron Howard) ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้ให้ความเห็นกับยูเอสเอทูเดย์ว่า งานของพวกเขานั้น พุ่งเป้าไปที่การทำความเข้าใจในความลึกลับของเอกภพ และไม่ได้สนใจการสร้างอาวุธเลย อีกทั้งที่เซิร์นยังเป็นห้องปฏิบัติการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ผลิตปฏิสสารในจำนวนน้อยนิด คงไม่มากพอที่จะกลายเป็นระเบิดได้ในที่สุด
       
       แท้จริงแล้วปฏิสสารคืออะไรกันแน่?

       
       บทความจากนิตยสารป็อปปูลาร์มาแคนิก (Popular Machenic) อธิบายโดยอาศัยคำสัมภาษณ์ของลันดัวว่า ทฤษฎีเรื่องปฏิสสารเริ่มพูดถึงเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2471 ปฏิสสารเป็นภาพสะท้อนกลับด้านของสสารที่พบทุกวันนี้ภายในอะตอม เรียกได้ว่าเมื่อมีสสารก็ย่อมต้องมีปฎิสสาร เป็นการสร้างความสมดุลของธรรมชาติ
       
       ต่อมาเมื่อนักวิทยาศาสตร์สร้าง "แอนติอิเล็กตรอน" (anti-electron) คู่ตรงข้ามกับอิเล็กตรอนในปี พ.ศ.2475 และ "แอนติโปรตอน" (anti-proton) ได้ในปี 2498 ก็เท่ากับยืนยันทฤษฎีดังกล่าว
       
       อย่างไรก็ดี ปฏิสสารเพิ่งจะถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในปี 2538 แต่ไม่ใช่ที่ห้องปฏิบัติการของเซิร์นตามแบบในภาพยนตร์ ซึ่งเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี (Large Hadron Collider: LHC) ที่เป็นห้องทดลองสำคัญ ที่ทำให้อนุภาคชนกัน จนได้ปฏิสสารออกมาอย่างที่เห็นในภาพยนตร์นั้น ณ ปัจจุบันยังไม่ได้มีการทดลองจริงแต่อย่างใด มีแค่เพียงการทดสอบเดินเครื่องไปเมื่อช่วงเดือน ก.ย.ของปีที่ผ่านมา
       
       อีกทั้ง ในทางทฤษฎีแล้ว ควรมีปริมาณปฏิสสารพอๆ กับสสารที่เกิดจากระเบิด "บิกแบง" (Big Bang) เมื่อ 1.37 หมื่นล้านปีมาแล้ว และที่น่าสนใจ คือ สสารกับปฏิสสารต่างทำลายล้างซึ่งกันและกัน แต่เหตุใดจึงมีสสารออกมาในรูปของดวงดาว ดาวเคราะห์และผู้คนอยู่เต็มไปหมดในเอกภพ นั่นคือหนึ่งในความลึกลับของจักรวาลวิทยา
       
       ในชีวิตจริง เราพบปฏิสสารได้เพียงในห้องปฏิบัติการ และกรณีที่รังสีคอสมิคพุ่งเข้าชนชั้นบรรยากาศ แล้วปลดปล่อยปรากฏการณ์แปลกประหลาดทางฟิสิกส์ในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งพบเห็นได้ยาก
       
       ส่วนที่เซิร์นนั้น ลำรังสีพลังงานสูงของอนุภาคโปรตอนจะถูกยิงเข้าไปยังกำแพงโลหะเพื่อผลิตปฏิสสาร ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ประมาณ 1 ในล้านครั้งของการชน แม่เหล็กอันสลับซับซ้อนจะดักจับสิ่งที่ยากจะพบในสภาพสุญญากาศ เพื่อป้องกันการสัมผัสกับสสารจริง
       
       สำหรับการเก็บปฏิสสารไว้ภายในอุปกรณ์ เหมือนขวดแม่เหล็กรักษาอุณหภูมิตามที่เห็นในภาพยนตร์นั้น นักวิทยาศาสตร์จากเซิร์นเปิดเผยว่า พวกเขามีอุปกรณ์หน้าตาคล้ายๆ กันนี้เรียกว่า "กับดักเพนนิง" (Penning Trap) เพื่อเก็บแอนตีโปรตอนไว้ศึกษา 57 วัน แต่การขนย้ายปฏิสสารนั้น แม้ว่าในทางทฤษฎีจะเป็นไปได้ แต่ยังไม่มีการขนย้ายในโลกแห่งความจริง
       
       ที่สำคัญ บรรดานักวิทยาศาสตร์ยังคาดหวังว่า เครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี ที่ขดเป็นวงกลมยาว 27 กิโลเมตรอยู่ใต้ดินบริเวณชายแดนสวิตเซอร์แลนด์และฝรั่งเศสนั้น จะเป็นเครื่องมือที่ยืนยันการมีอยู่จริงของอนุภาค "ฮิกก์โบซอน" (Higgs Boson) หรือ "อนุภาคพระเจ้า" (God particle) ซึ่งเป็นอนุภาคที่จะอธิบายว่าสสารมีมวลได้อย่างไร ซึ่ง ลีออน เลเดอร์แมน (Leon Lederman) อดีตผู้อำนวยการของเฟอร์มิแล็บและผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์เมื่อปี 2531 เป็นผู้หนึ่งที่มีความหวังต่อเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี
       
       "อนุภาคพระเจ้า (ในบทภาพยนตร์ของไทยแปลว่า "เถ้าธุลีพระเจ้า") จะให้คำอธิบายได้ถึงการไม่ปรากฏของปฏิสสารในเอกภพนี้" เลเดอร์แมนกล่าว
       
       *สนใจติดตามไขประเด็นทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะเรื่องปฏิสสารที่ปรากฎในเทวากับซาตาน เซิร์นได้ทำเว็บไซต์อธิบายไว้ที่ angelsanddemons.cern.ch
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000058089


--
Please visit my blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
http://lifeanddeath2mcu.blogspot.com
http://www.thaiyogainstitute.com
http://www.thaihof.org
http://www.parent-youth.net
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://www.pdc.go.th
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://www.biz652.com
http://dbd-52.hi5.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก

ผู้ติดตาม